สี่งที่ต้องทำหลังซื้อรถมือสอง
จากหนังสือยานยนต์ เล่ม 388 ประจำเดือน กันยายน 2541
การซื้อรถ(ใช้แล้ว) ตอนแรกก็ต้องนับหนึ่งกันใหม่เพราะเราไม่รู้ว่าเจ้าของเดิมทำอะไรมามั่ง บางที่ไอ้ที่เค้าบอกก็เชื่อไม่ค่อยได้เหมือนกัน
สิ่งที่ควรประพฤติสำหรับการเป็นเจ้าของรถใช้แล้วคันใหม่คือ นำรถไปเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรอง ถ่ายน้ำมันเกียร์สำหรับ
พวกเกียร์ธรรมดา แต่ถ้าเป็นรถเกียร์อัตโนมัตินอกจากถ่ายน้ำมันเกียร์แล้ว ก็ควรเปลี่ยนไส้กรองซะด้วย ถ้าเกียร์รุ่นนั้นมีไส้กรองให้ใช้ด้วย
และอย่าลืมถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายด้วยล่ะ ซึ่งน้ำมันเกียร์ธรรมดาและน้ำมันเฟืองท้ายนี้ แนะนำว่าควรลงทุนใช้พวกน้ำมัน สังเคราะห์
ที่มีคุณภาพสูงกว่าน้ำมันเกียร์ธรรมดา หรือกลัวว่าที่ปั๊มหรือสถานบริการไม่มี จะซื้อติดรถเตรียมพร้อมไปเลยก็ได้ ส่วนพวกรถที่มีเพาเวอร์
พวงมาลัยใช้ให้ถือโอกาสนี้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันซะด้วยในคราวเดียวกัน และพวกรถรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่บางยี่ห้อที่ยังมีหัวอัดจาระบีใช้งานอยู่
ก็ต้องมีรายการอัดจาระบีเพิ่มอีกต่างหาก
นอกจากนี้ก็ควรเปลี่ยนไส้กรองอากาศ พร้อมไส้กรองเบ็นซิน และที่สมควรอย่างยิ่งคือถ้าพบว่ารถคันนั้นมีระยะใช้งานมาเกินกว่า 40,000 กม.
ขึ้นไป สมควรจะเปลี่ยนสายพานขับเคลื่อนแค็มชาฟท์ พร้อมสายพานปั๊มน้ำ สายพานแอร์ หรือแม้วิ่งใช้งานมาไม่มากเท่าไหร่
แต่ดูท่าทางไม่ค่อยดีนัก ให้จัดการเปลี่ยนสายพานไปเลยดีกว่าเพื่อความสบายใจและปลอดภัย เพราะไม่แน่ว่าจะไปเจอเอารถ กลับไมล์
เข้าก็ได้ควรหาเวลาว่างแวะรถเข้าร้านทำเบรค ให้เค้าจัดการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรค และตรวจเช็คความหนาของผ้าเบรกสำหรับรถเกียร์ธรรมดา
ที่ใช้ระบบคลัทซ์น้ำมัน ก็เปลี่ยนถ่ายน้ำมันคลัทช์พร้อมกับน้ำมันเบรกในคราวเดียวกันนี้
ให้เปิดฝาหม้อน้ำดูสภาพของน้ำว่ามีสนิมปะปนหรือเปล่า ถ้ามีก็ต้องมีการถ่ายน้ำในหม้อน้ำ ส่วนพวกรถที่ใช้น้ำยากันสนิมหรือน้ำยารักษาหม้อน้ำ
เมื่อพบว่าอายุของรถเกินกว่า 2 ปี ก็ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำยารักษาหม้อน้ำด้วย
งานนี้มีรายการควักกระเป๋าก้อนโตพอสมควร อีกทั้งยังเสียเวลาอีกหลายวันกว่าจะจบขบวนการ แต่ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเกินราคา
ถ้าจะเอารถไปวางเครื่องใหม่ (มือสอง) กับฟิตเครื่องใหม่เลย การเปลี่ยนเครื่องมันว่ากันได้ตั้งแต่ไม่กี่พันบาท ไล่ไปจนเกือบถึงหลักแสน
แต่ถ้าเอาขนาดพอดูได้ไม่หวังม้าฝูงโตจนเกินไปนัก เฉพาะค่าเครื่องพร้อมเกียร์ควรอยู่ระดับ 3-4 หมื่นบาท แล้วก็ต้องบวกค่าดัดแปลง
ค่าแรง และอุปกรณ์อื่น ๆ อีกซัก 2 หมื่นบาท เบ็ดเสร็จควรมีกะตังค์ติดกระเป๋า 5-6 หมื่นบาท สำหรับการเปลี่ยนขุมพลัง
ส่วนการยกเครื่องรวมค่าแรงและอะไหล่แล้ว พอ ๆ กันกับเครื่อง (เก่า) ตัวใหม่ คืออยู่ในระดับ 3-4 หมื่นเช่นกัน ถูกหรือแพงกว่านี้ขึ้นอยู่กับ
สภาพเครื่องว่าโทรมขนาดไหน และมีรายการต้องเปลี่ยนอะไรบ้าง ถ้าเจอรายการของหนัก ๆ ราคาแพง อย่างเช่น ฝาสูบ คาร์บูเรเตอร์
หรือแค็มชาฟท์อะไรพวกนี้ ก็ต้องว่ากันสาหัสขึ้นไปอีกระดับ