LANCER EVOLUTION VIIเปิดตัวเมื่อ 26 มกราคม 2001 (เริ่มขายจริง 3 กุมภาพันธ์ 2001)
จำกัดจำนวนผลิต 10,000 คัน
อีโวลูชัน 7 พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของ แลนเซอร์ เซเดีย ที่บุกตลาดมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ถือเป็นรถยนต์รุ่นที่
2 ของมิตซูบิชิที่ออกมากู้ภาพพจน์หลังวิกฤตการณ์ RECALL ครั้งใหญ่ในญี่ปุ่นเมื่อเดือนสิงหาคม 2000 และนับเป็น
ครั้งที่ 2 ที่มีการเปลี่ยนโครงสร้างตัวถังหลักให้กับอีโวลูชัน พร้อมหน้าตารอบคันที่ถูกยกระดับความปราดเปรียวดุดัน
เหมือนกับสายพันธุ์อีโวลูชันที่ผ่านมาทั้ง 6 รุ่น

ภายใต้มิติตัวถังยาว 4,455 มิลลิเมตร กว้าง 1,770 มิลลิเมตร สูง 1,450 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อยาว 2,625 มิลลิเมตร
จุดที่แตกต่างจากรุ่นพื้นฐานเริ่มจาก กันชนหน้าทรงใหม่ที่มีช่องดักอากาศขนาดใหญ่ มองทะลุเห็นอินเตอร์คูลเลอร์ใบ
เขื่อง ฝากระโปรงหน้าพร้อมช่องดักอากาศ NACA ที่ด้านบนทำจากอลูมิเนียมเพื่อลดน้ำหนักตัว ไฟหน้าเปลี่ยนใหม่ทั้ง
ชุดตามการออกแบบฝากระโปรงหน้าแบบใหม่ เป็นแบบกรอบสี่เหลี่ยมเฉียงซีนอน 3 เลนส์ ที่มีขนาดเพรียวกว่ารุ่นพื้น
ฐาน และย้ายชุดไฟเลี้ยวรูปตัว L มาวางอยู่มุมล่างชุดไฟหน้า ดูคล้ายกับปาเจโรรุ่นก่อนๆ ซุ้มล้อทั้ง 4 เพิ่มโป่งข้างให้ดู
บึกบึนคล้ายเวอร์ชันตัวแข่ง ทำให้แนวขอบประตูผู้โดยสารหลังขนานไปกับขอบซุ้มล้อ ต่างจากรุ่นเซเดียที่โค้งต่อเนื่อง
เป็นรูปตัว C ไม่อิงกับขอบซุ้มล้อ นอกจากนี้ไฟท้ายและกันชนหลังต้องออกแบบขึ้นใหม่เพื่อให้รับกับโป่งข้างด้านหลัง
โดยเฉพาะ รวมทั้งสปอยเลอร์หลังทรงสูงที่ออกแบบขึ้นใหม่

ถึงจะใช้โครงสร้างตัวถังและแพล็ตฟอร์มร่วมกับรุ่นเซเดีย แต่โครงสร้างตัวถังอีโวลูชันแข็งแกร่งและลดการบิดตัวจาก
เดิมถึง 50% ด้วยจุดเชื่อมรอยต่อที่มากกว่าเซเดียถึง 200 จุด อย่างไรก็ดี ชิ้นส่วนตัวถังกลับใช้ร่วมกัน ได้เพียงไม่กี่
จุด และถึงแม้พยายามลดน้ำหนักตัวทุกวิถีทาง แต่ตัวเลขก็เพิ่มขึ้นจากรุ่นก่อนถึง 40 กิโลกรัมมาหยุดที่ 1,400 กิโลกรัม
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดูเหมือนว่ามิตซูบิชิจะปักหลักใช้บริการคู่หูพาร์ทเนอร์ขาประจำในการตกแต่งภายในของอีโวลูชันให้คงบุคลิกสปอร์ตไว้
อย่างเหนียวแน่น ดูได้จากพวงมาลัย 3 ก้าน พร้อมถุงลมนิรภัยนูนบนแป้นวงกลมจาก MOMO เบาะนั่งคู่หน้าทรงสปอร์ต
แบบใหม่ น้ำหนักเบากว่าเดิมจาก RECARO ส่วนแผงหน้าปัดยกมาจากเซเดียรุ่น 1,500 ซีซี (ไม่มีช่องติดตั้งจอระบบ
นำร่อง) แต่เพิ่มความเท่ด้วยมาตรวัดต่างๆรวม 5 ช่องสีเงินเรืองแสงสีแดง

การปรับปรุงสมรรถนะคือหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในอีโวลูชันทุกรุ่น ครั้งนี้ก็เช่นกัน แม้ขุมพลังยังคงเป็น
รหัส 4G63 4 สูบ DOHC 1,998 ซีซี เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ เจ้าเก่าที่คุ้นเคย แต่รายละเอียดต่างๆถุกปรับปรุงใหม่
เช่น ระบบทางเดินไอดีและไอเสียที่ลดแรงต้านทานในท่อไอดีลง 20% เพิ่มความกว้างให้อินเตอร์คูลเลอร์อีก 20
มิลลิเมตร โดยผู้ขับขี่เลือกการทำงานระบบสเปรย์พ่นลดความร้อนในแบบธรรมดาหรืออัตโนมัติผ่านทางสวิทช์บนแผง
หน้าปัด เพิ่มขนาดของออยล์ คูลเลอร์อีก 15% ทั้งหมดนี้ช่วยรีดกำลังสูงสุดออกมาได้ที่ 280 (PS) ที่ 6,500 รอบ/นาที
แรงบิดสูงสุด 39.0 กก-ม.ที่ 3,500 รอบ/นาที
แต่ยังคงส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะรุ่น W5M51 ลูกเดียวกับรุ่นที่แล้ว แต่เพิ่มขนาดแผ่นคลัชท์และฟลายวีล
รวมทั้งปรับอัตราทดเกียร์ใหม่ทั้งรุ่น GSR และ RS ให้ต่างกันเพื่อความเหมาะสมกับการใช้งานของลูกค้า โดยอัตราทด
เกียร์ 1 ในรุ่น GSR อยู่ที่ 2.928 แต่รุ่น RS เริ่มที่ 2.785 และในรุ่น RS ลูกค้ายังเลือกได้ว่าจะใช้เกียร์ที่มีอัตราทด
ธรรมดา หรือแบบ SUPER CLOSED RATIO อีกด้วย

ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อเปลี่ยนมาใช้ระบบ ACD (ACTIVE CENTER DIFFERENTIAL) เป็นครั้งแรกในโลก เข้า
มาแทนระบบ VISCOUS CUPPLING แบบเก่า โดยใช้ระบบแรงดันไฮดรอลิกร่วมกับคลัตช์หลายแผ่น เป็นศูนย์กลาง
เพื่อแบ่งแรงบิดจากเครื่องยนต์ไปด้านหน้าและหลังเท่าๆกัน การปฏิวัติระบบขับเคลื่อน 4 ล้อครั้งนี้ ช่วยให้ผู้ขับ
สามารถควบคุมรถได้ทุกสถานะการณ์ รวมทั้งเพิ่มการตอบสนองของพวงมาลัยและการเกาะถนนอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีระบบ AYC (ACTIVE YAW CONTROL) ติดตั้งใกล้เฟืองท้าย ทำงานประสานกับระบบ ACD โดยส่ง
แรงบิดที่ต่างกันไปยังล้อหลังตามสภาพถนนเพื่อให้เข้าโค้งได้ฉับไวและทรงตัวดีเมื่อเบรกกระทันหัน
ระบบกันสะเทือนหน้าแมคเฟอร์สันสตรัท หลังแบบมัลติงลิงค์ ถูกปรับปรุงให้ยึดเกาะถนนดีขึ้น มั่นใจด้วยดิสค์เบรค 4
ล้อ 4 คาลิปเปอร์ พร้อม เอบีเอส ระบบกระจายแรงเบรค อีบีดี พร้อมระบบลดความร้อนของจานเบรคและวาล์วปรับ
แรงดันแรงดันน้ำมันเบรค PCV (PRESSURE CONTROL VALVE) พัฒนาร่วมกับ BREMBO เช่นเคย นอกจากนี้
ยังปรับปรุงการทรงตัวและการตอบสนองของพวงมาลัยเมื่อเหยียบเบรคขณะเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงด้วย
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 2,510,000 เยน หรือ 1,057,560 บาทในรุ่น RS ที่พร้อมลงแข่งในสนามทันที และ 2,998,000 เยน
หรือ 1,259,000 บาท ในรุ่น GSR (ไม่รวมภาษีไทย)
*************************************************************************
EVOLUTION VII GT-Aเปิดตัวเมื่อ 29 มกราคม 2002 (เริ่มขายจริง 1 กุมภาพันธ์ 2002)
จำกัดจำนวนผลิต 2,000 คัน
ส่วนรุ่น GT-A เป็นรุ่นเกียร์อัตโนมัติรุ่นแรกในตระกูลอีโวลูชั่น จะมีความแตกต่างจากทุกรุ่น
ในสายพันธุ์ของตระกูลอีโวลูชันที่ผ่านมา เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่ทีมวิศวกรจะเอาใจลูกค้า
ทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ด้วยการถอดเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ รุ่น W5M51 ออก แล้วแทนที่ด้วย
เกียร์อัตโนมัติ 5 จังหวะ INVECS-II ที่ผู้ขับขี่สามารถเลือกเปลี่ยนเกียร์ได้ด้วยตัวเอง
ทั้งจากบนคันเกียร์ และจากมีปุ่ม SPORT SHIFT เลือกเปลี่ยนเกียร์ได้ในตัว ซึ่งเป็นครั้งแรก
ที่มิตซูบิชิติดตั้งปุ่มดังกล่าวนี้บนพวงมาลัย ทำให้ถึงกับต้องเปลี่ยนพวงมาลัย 3 ก้านใหม่
เพื่อรองรับการใช้งานโดยเฉพาะ
แต่เมื่อเชื่อมกับหัวใจบล็อกเก่าเจ้าประจำ 4G63 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,997 ซีซี พ่วงด้วยเทอร์โบ
และอินเตอร์คูลเลอร์ ใครที่คาดหวังความแรง คงต้องทำใจกับตัวเลขสมรรถนะที่ลดลง 7 แรงม้า (PS)
จากเดิม 280 แรงม้า (PS) เหลือเพียง 272 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 35 กก.-ม.
ที่ 3,000 รอบ/นาที แถมยังส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจาก 1,400 กิโลกรัม เป็น 1,480 กิโลกรัมอีกด้วย
เหตุที่เป็นเช่นนี้ นั่นเพราะ มีการเปลี่ยนมาใช้เทอร์โบรุ่น TD05HR-15GK2-9T ซึ่งมีใบพัดคอมเพรสเซอร์
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กลง รวมทั้งโข่งฝั่งไอดีและไอเสียเล็กกว่ารถเกียร์ธรรมดา เพื่อให้บูสท์มาไว
เหมาะกับเกียร์อัตโนมัติมากขึ้น

ดังนั้น เพื่อให้เกิดความแตกต่างจากรุ่นมาตรฐาน จึงมีการปรับปรุงรายละเอียดการตกแต่ง
ภายนอกบนตัวถังที่มีขนาดเท่าเดิม เพื่อลดความดุดันลงในบางจุด เริ่มที่ท่อดักอากาศ NACA
บนฝากระโปรง และกันชนหน้า จะไม่มีให้เห็นในรุ่น GT-A ทำให้ตำแหน่งติดป้ายทะเบียน
ย้ายมาอยู่ใต้กระจังหน้าตามปกติ ขณะที่ชุดไฟท้าย เปลี่ยนมาใช้แบบโคมแดงกรอบขาวหรือโลหะ
สไตล์เดียวกับ Toyota Altezza ซึ่งกำลังนิยมอยู่ในหมู่วัยรุ่น
ตามด้วยสปอยเลอร์ด้านหลังพร้อมไฟเบรก LED ในตัว มีขนาดเล็กกว่ารุ่นมาตรฐาน ซึ่งถ้าลูกค้าไม่ชอบ
ก็สามารถเลือกสั่งสปอยเลอร์ของรุ่นมาตรฐานหรือไม่ต้องติดตั้ง สปอยเลอร์กับทางโชว์รูมได้
รวมทั้งกระจกประตูหลังและกระจกบังลมหลังใช้โทนสีทึบ PRIVACY GLASS ตามสไตล์
ที่พบได้ในรถยนต์นั่งทั่วไปในญี่ปุ่น

ในส่วนห้องโดยสาร ความพิเศษที่แตกต่างจากรุ่นมาตรฐาน มีทั้งมาตรวัดความเร็วตัวเลขดำบนพื้นขาว
พร้อมตัวเลขแสดงตำแหน่งเกียร์ มือจับประตูและชุดควบคุมเครื่องปรับอากาศตกแต่งด้วยโครเมียม
เบาะคู่หน้าเลือกได้ถึง 3 แบบ ทั้งเบาะจากรุ่นมาตรฐานของ RECARO เบาะหนังแท้ ปรับระดับคู่หน้า
ด้วยไฟฟ้าได้ 4 ทิศทาง และเบาะทรงสปอร์ตที่ออกแบบขึ้นใหม่โดยเฉพาะ แต่รายละเอียดทางเทคนิคอื่นๆ
นอกจากนี้ ยังคงเหมือนรุ่น อีโวลูชัน 7 ตามเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังปรับปรุงการทรงตัว
และการตอบสนองของพวงมาลัยเมื่อเหยียบเบรคขณะเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงด้วย

ราคาเปิดตัวของ อีโวลูชัน 7 GT-A อยู่ที่ 3,300,000 เยน หรือ 1,098,900 บาท (ไม่รวมภาษีนำเข้าของไทย)
(โปรด สังเกตให้ดี รูปแรกของ GT-A กับรูปคันสีเงินข้างบนนี้ จะเห็นว่า ความสูงของสปอยเลอร์ด้านหลัง ไม่เท่ากัน ขึ้นกับลูกค้าจะเลือกติดตั้ง)
*************************************************************************
LANCER EVOLUTION VIIIเปิดตัวเมื่อ 29 มกราคม 2003 (เริ่มขายจริง 31 มกราคม 2003)
จำกัดจำนวนผลิต 5,000 คัน
ถึงแม้ความเคลื่อนไหวในการพัฒนาจะตกเป็นข่าวอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2002 แต่เมื่อถึงเวลาเผยโฉมคันจริง
ทีมพีอาร์ของมิตซูบิชิสำนักงานใหญ่ที่ญี่ปุ่น กลับทำตัวเป็นข่าวด้วยการนำอีโวลูชัน VIII จำนวน 4 คัน
เข้ามาที่เมืองไทย แล้วเชิญสื่อมวลชนจากทั่วโลก (รวมทั้งจากเมืองไทย รวม 4 ฉบับ ได้แก่ THAIDRiVER
นักเลงรถ กรังด์ปรีซ์ และ ฟอร์มูลา) มาขับทดสอบ ณ สนามพีระอินเตอร์เนชันแนลเซอร์กิต ที่พัทยา
ในช่วงก่อนสิ้นปี 2002 จากนั้นจึงส่งตรงไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อขึ้นเวทีเปิดตัวครั้งแรกในโลกที่งาน
ลอสแองเจลลิสออโตโชว์ เมื่อ 7 มกราคมที่ผ่านมา และจะเริ่มทำตลาดในเมืองคาวบอย เดือนกุมภาพันธ์ในทันที
ถือเป็นครั้งแรกที่ตระกูลอีโวลูชันไปวาดลวดลายบนท้องถนนในสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังอาศัยเกาะกระแสเกม
Gran Turismo บนเครื่อง PlayStation ของ Sony มาช่วยโปรโมตให้อีกทางหนึ่ง
ขณะที่เวอร์ชันญี่ปุ่น เผยโฉมคันจริงในงานโตเกียว-ออโตซาลอน ก่อนเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อ 29 มกราคม 2006
และส่งขึ้นโชว์รูม ในอีก 2 วันหลังจากนั้น
รูปลักษณ์ภายนอกถูกปรับปรุงจากเดิมเล็กน้อย กระจังหน้าทรงปิรามิดกลมกลืนเป็นชิ้นเดียวกับกันชนหน้า
เสริมการทำงานด้วยแผ่นปิดใต้ท้องเครื่องยนต์ ช่วยให้การระบายอากาศเข้าสู่อินเตอร์คูลเลอร์ดีขึ้นกว่าเดิม 10 %
และเพิ่มแรงกดให้กระแสลมบริเวณด้านหน้า ทำให้อากาศไหลผ่านอย่างไหลลื่น ทั้งยังลดค่าสัมประสิทธิ์
หลักอากาศพลศาสตร์ได้อีกด้วย

สปอยเลอร์หลังหล่อขึ้นรูปจากพลาสติกผสมคาร์บอนไฟเบอร์ CFRP (CARBON FIBER-REINFORECD
PLASTIC) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของรถยนต์ซีดานจากสายการผลิตบริษัทแม่โดยตรง น้ำหนักเบากว่าเดิม 2 กิโลกรัม
และเปลี่ยนมาใช้ล้ออัลลอย 6 ก้าน ขนาด 17 นิ้วจาก ENKEI ซึ่งน้ำหนักเบากว่าเดิม 3.2 กิโลกรัม สวมเข้ากับยาง
ADVAN A046 235/45ZR17 ในรุ่นเกียร์ 6 จังหวะ แต่สำหรับรุ่นเกียร์ 5 จังหวะจะใช้กระทะล้อเหล็ก พร้อม
ยางขนาด 205/65R15 94H จากโรงงานการปรับปรุงทั้งหมดดังกล่าว ทำให้ความยาวตลอดทั้งคัน เพิ่มขึ้นเป็น
4,490 มิลลิเมตร แต่ตัวเลขอื่นๆยังคงเดิม

จุดประสงค์หลักของการปรับปรุงอีโวลูชั่น VIII พุ่งเป้าไปที่การยกระดับสมรรถนะที่ดีอยู่แล้วในอีโวลูชั่น VII
ให้ดียิ่งขึ้น เริ่มจากขุมพลังรหัส 4G63 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,997 ซีซี พร้อมอินเตอร์คูลเลอร์และเทอร์โบ
ถูกปรับปรุงรายละเอียดเล็กน้อย เพิ่มความทนทานของลูกสูบอะลูมิเนียม และก้านสูบแบบเหล็กหล่อ (ฟอร์จ)
รวมทั้งเปลี่ยนใช้สปริงวาล์วน้ำหนักเบา เพื่อช่วยลดแรงเฉื่อยและแรงเสียดทานในการทำงานของชุดวาล์ว
เทอร์โบของรุ่น GSR ยังคงเป็นลูกเดียวกับ อีโวลูชัน เซเวน GSR และ เทอร์โบของรุ่น RS ยังคงเป็นลูกเดียวกับ
อีโว เซเวน RS
เวอร์ชั่นญี่ปุ่นยังคงแรงอยู่ที่ 280 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ/นาที เพิ่มแรงบิดให้สูงขึ้น 40.0 กก.-ม. ที่ 3,500 รอบ/นาที
โดย รุ่น GSR จะส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ อัตราทดชิด (CLOSE RATIO) รุ่น W6MAA พร้อมแหวน
ยกแป้นใต้หัวเกียร์ป้องกันการเข้าเกียร์ถอยหลังผิดเหมือนรถยุโรปบางรุ่น แต่รุ่น RS ยังคงติดตั้งเกียร์ธรรมดา
5 จังหวะอัตราทดชิด SUPER CLOSE RATIO รุ่น W5M51 และมีเกียร์ 6 จังหวะ จากรุ่น GSR ให้เลือกเป็น
ออฟชันพิเศษ สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงระดับ 9.7 กิโลเมตร/ลิตร โดยรุ่น RS ใช้ถังน้ำมันขนาด 55 ลิตร
และ อีโวลูฃัน VIII ถือเป็นรุ่นแรกในตระกูลที่ได้ใช้เกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ
แต่ในรุ่น GSR เปลี่ยนขนาดถังให้ใหญ่ขึ้นอีก 7 ลิตร เป็น 62 ลิตร ส่วนเวอร์ชั่นอเมริกันจำเป็นต้องลดพิกัด
ความแรงลงมา เพื่อให้ผ่านมาตรฐานมลพิษระดับ LEV1-LEV ของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ลงมาเหลือ
275 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 37.7 กก.-ม. ที่ 3,500 รอบ/นาที พ่วงกับเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ

ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นไหนจะถูกพ่วงเข้ากับระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ พร้อมระบบเพลากลาง ACD
(ACTIVE CENTER DIFFENTIAL) ทำหน้าที่แทน VISCOUS CUPPLING โดยใช้ระบบแรงดัน
ไฮโดรลิกร่วมกับคลัตซ์หลายแผ่น เพื่อกระจายแรงบิดจากเครื่องยนต์ไปสู่ล้อคู่หน้าและหลังเท่าๆ กัน
อีกทั้งผู้ขับขี่ยังเลือกการทำงานได้ 3 โหมดตามสภาพถนนคือ Tarmac/Gravel/Snow
นอกจากนี้เฉพาะรุ่น GSR ยังเพิ่มระบบชุดเฟือง SUPER AYC (ACTIVE YAW CONTROL)
ติดตั้งใกล้เฟืองท้าย ทำงานประสานกับระบบ ACD เพื่อเข้าโค้งได้ฉับไวและทรงตัวดีเมื่อเบรกกะทันหัน

ระบบกันสะเทือนยกมาจากรุ่นเดิม หน้าแมคเฟอร์สันสตรัต หลังแบบมัลติลิงก์ พร้อมเหล็กกันโคลงหน้า-หลัง
ถูกปรับปรุงจุดยึดต่างๆ เพื่อให้ช่วยลดการบิดตัว ส่งผลให้ยึดเกาะถนนดีขึ้น ระบบห้ามล้อเป็นดิสก์เบรก
มีรูระบายอากาศทั้ง 4 ล้อ คู่หน้าเป็นแบบ 4 คาลิปเปอร์ ส่วนคู่หลังมี 2 คาลิปเปอร์ ระบบป้องกันล้อล็อก ABS
ถูกอัพเกรดขึ้นเป็นแบบ SPORT ABS มีเซ็นเซอร์จับอาการล็อกล้อทั้ง 4 เพิ่มเซ็นเซอร์จับการหมุน
ของพวงมาลัยและหมุนเลี้ยวของล้อ เพื่อคำนวณหาแรงเบรกที่เหมาะสมของแต่ละล้อ และสั่งการ
ไปยังล้อข้างนั้นๆ ส่วนระบบกระจายแรงเบรก EDB พร้อมระบบลดความร้อนของจานเบรก
และวาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรก PCV (PRESSURE CONTROL VALVE)

ห้องโดยสารตกแต่งด้วยโทนสีดำเป็นหลัก แผงหน้าปัดตกแต่งคอนโซลด้วยโทนสีน้ำเงินให้เข้ากับ
เบาะบักเก็ตซีตจาก RECARO ที่ใช้ผ้าแบบ SILKWEAVE เหมือนกับรุ่น VII ชุดมาตรวัดความเร็ว
จะเพิ่มตัวเลขให้เกินพิกัดความเร็วสูงสุดถึง 270 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ยังคงมีระบบตัดการจ่ายเชื้อเพลิงเมื่อถึง
ความเร็ว 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง ตามกฎหมายของญี่ปุ่นไว้เช่นเดิม พวงมาลัย 3 ก้านทรงสปอร์ตที่ยกมาจากรุ่น VII
แต่เปลี่ยนมาใช้ด้ายสีน้ำเงินเย็บเข้ารูปแทน ยังคงเป็นผลงานจาก MOMO เช่นเดียวกับในรุ่น VII
หัวเกียร์ออกแบบขึ้นใหม่ ทำจากพลาสติก ครอบทับด้วยหนังแท้เย็บด้วยด้ายสีดำเช่นเดียวกับ เบรกมือ
กระชับมือยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเมื่อผู้ขับขี่ใส่ถุงมือ ในรุ่น GSR แผ่นบอกตำแหน่งเกียร์ติดโลโก้อีโวลูชัน
ทำจาก CFRP เช่นเดียวกับสปอยเลอร์หลัง

โครงสร้างตัวถัง ถูกปรับปรุงด้วยการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับคาน CROSSMEMBER ใต้เสาหลังคา
A-PILLAR รวมทั้งบริเวณเบ้ายึดช็อกอัพคู่หน้า จุดยึดระบบกันสะเทือนหลังรวมทั้งบริเวณใกล้เคียง
และฐานเสาหลังคากลาง B-PILLAR ด้วยการปรับปรุงทุกรายละเอียดข้างต้นนี้ ส่งผลให้น้ำหนักตัว
เพิ่มขึ้นจากรุ่นเดิม 1,400 กิโลกรัม มาหยุดที่ 1,440 กิโลกรัมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แลนเซอร์ อีโวลูชัน VIII มีให้เลือก 3 รุ่นย่อย รุ่นพื้นฐาน RS มีทั้งรุ่นเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ
2,740,000 เยน รุ่นเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ 3,160,000 เยน และรุ่นสตรีตเวอร์ชัน GSR
3,298,000 เยน หรือ 1,121,320 บาท (ราคานี้ไม่รวมภาษีและค่าขนส่งมาเมืองไทย)

(ภาพโฆษณาบนปกหลังนิตยสาร HYPER REV ฉบับ ที่ 81)
เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆที่ควรทราบก็คือ
- อีโลูชัน VIII เป็นรถที่ทำมาทาบรัศมีสปอร์ตซาลูนยุโรปอย่างจริงจัง ดังนั้นตัวถังและชุดแต่งของมันถูกทดสอบ
ซ้ำแล้วซ้ำเล่าทั้งในอุโมงค์ลม และสนาม Nurburgring ในเยอรมัน
- แต่อีโวลูชัน VIII ที่แรงที่สุด เกิดในอังกฤษ คือรุ่น EVO8MR FQ-400 (FQ ย่อมาจาก Fuckin' Quick)
มันมีพละกำลังสูงทะลุโลกถึง 405 แรงม้า และมีแรงบิดสูงสุดถึง 481 นิวตันเมตร อัตราเร่ง 0-60 ไมล์/ชั่วโมง
ในเวลา 3.5วินาที ความเร็วสูงสุด 282 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่แรงบ้าระห่ำได้ขนาดนี้ ก็เพราะว่า เครื่องของมัน
ถูกจูนและกำหนดสเป็คโดย HKS
- นอกจากนี้ ยังมี อีโวลูชัน VIII รุ่นพิเศษ ที่ไม่พิเศษอีกรุ่นหนึ่ง หลุดรอดออกมา คือ EVOLUTION VIII 260
มันคือ อีโวลูชัน VII (เขียนไม่ผิด) ที่มีเกียร์5สปีด กับระบบควบคุมมลภาวะ (แคตาไลติค คอนเวอร์เตอร์) ถึง 2 ตัว
ทำให้กำลังสูงสุด หดเหลือ 261 ตัว มันไม่มีระบบเฟืองท้าย AYC แต่มีสปอยเลอร์หลังขนาดเล็กๆ ติดมาให้
********************************************************************
LANCER EVOLUTION VIII MRเปิดตัวเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2004 (เริ่มขายจริง 13 กุมภาพันธ์ 2004)
จำกัดจำนวนผลิต 3,000 คัน
ตัวอักษร MR นั้น หมายถึง Mitsubishi Racing การนำตัวอักษร 2 ตัวนี้
ที่เคยใช้กับ Colt Galant GTO ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 นั้น
ถือเป็นการสื่อความตั้งใจของวิศวกร ในความพยายามลบจุดด้อยของรุ่น VIII เดิม
ให้สมบูรณ์ขึ้นด้วย วิธีการลดน้ำหนักส่วนเกินลงไปในหลายจุด

เริ่มกันที่โครงสร้างตัวถัง คราวนี้ อีโวลูชัน VIII MR ได้ชื่อว่าเป็นรถยนต์ที่ใช้โครงสร้างตัวถัง
แบบโมโนค็อกที่ผลิตขายจริงรุ่นแรกของญี่ปุ่น ที่ใช้แผ่นหลังคาอะลูมิเนียม ช่วยลดน้ำหนักลงอีก 4 กิโลกรัม
ซึ่งจะส่งผลให้จุดศูนย์ถ่วงต่ำลงและลดแรงเหวี่ยงจากการเข้าโค้ง เพื่อช่วยเพิ่มสมรรถนะที่ดีขึ้น
โดยต้องอาศัยกระบวนการผผลิตและเชื่อมโลหะเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังเสริมความแข็งแกร่ง
ให้กับเสาหลังคาทั้งคู่หน้า A-PILLAR คู่กลาง B-PILLAR และคู่หลัง C-PILLAR รวมไปถึง
คานเหล็กกันกระแทกที่ประตูคู่หน้า ที่เปลี่ยนวัสดุจากเหล็ก ไปเป็นอะลูมิเนียม
ลดน้ำหนักลงไปได้อีก 3.5 กิโลกรัม

ทุกครั้งที่มีอีโวลูชันรุ่นใหม่ออกมา แน่นอนว่าจะต้องมีการอัพเกรดขุมพลังรหัส
4G63 บล็อก 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,997 ซีซี พร้อมอินเตอร์คูลเลอร์ และเทอร์โบ
ที่ประจำการกันมาตั้งแต่รุ่นแรก ให้มีสมรรถนะที่ดีขึ้น และทนทานขึ้น ครั้งนี้ก็เช่นกัน
มีการปรับปรุงรายละเอียดปลีกย่อย ตั้งแต่การเพิ่มขนาดแกนเทอร์ไบน์ให้ใหญ่ขึ้น
เพิ่มโซลินอยด์ที่ เวสต์เกตส์ เป็น 2 ตัว เพื่อควบคุมแรงดันให้เหมาะสม เพื่อสร้างแรงบิด
ให้มีมาสม่ำเสมอตั้งแต่รอบเครื่องยนต์ต่ำจนถึงปานกลาง ลดน้ำหนักแกนไซเลนต์-ชาฟต์ลง
เล็กน้อย ปรับปรุงระบบหล่อเย็น เพิ่มขนาดออยล์คูลเลอร์ ให้ใหญ่ขึ้น และเป็นแบบ 2 แถว ฯลฯ
เทอร์โบของรุ่น MR GSR จะเป็นรุ่น TD05HR-16G6-10.5T (โข่งไอเสียใหญ่ขึ้น ทำให้ลากรอบปลายได้ลื่นขึ้น
และลดแรงดันไอเสียย้อนกลับ) ส่วนรุ่น MR RSจะใช้เทอร์โบรุ่น TD05HRA-16G6-10.5T
(กังหันไอเสีย ไทเทเนียมอัลลอย) การปรับปรุงทั้งหมดนี้ ถึงแม้จะให้กำลังสูงสุด 280 แรงม้า (PS)
ที่ 6,000 รอบ/นาที เท่าเดิม แต่กลับเพิ่มแรงบิดพุ่งสูงขึ้นจาก 40.0 เป็น 40.8 กก.-ม.ที่ 3,500 รอบ/นาที
ซึ่งสามารถเรียกใช้ได้ตั้งแต่รอบเครื่องยนต์ต่ำๆ ได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจนถึงรอบสูงๆ

ขณะที่ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ พร้อมสารพัดระบบควบคุมการขับเคลื่อนด้วยอีเล็กโทรนิกส์ต่างๆ
ก็ถูกปรับจูนให้ทำงานได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบเพลากลาง ACD (ACTIVE CENTER DIFFENTIAL)
ซึ่งทำหน้าที่แทน VISCOUS CUPPLING โดยใช้ระบบแรงดันไฮโดรลิกร่วมกับคลัชต์หลายแผ่น
เพื่อกระจายแรงบิดจากเครื่องยนต์ไปสู่ล้อคู่หน้าและหลังเท่าๆกัน อีกทั้งผู้ขับขี่ยังเลือกการทำงานได้เอง
อีก 3 โหมดตามสภาพถนนคือ Tarmac/Gravel/Snow ปรับแต่มาเป็นพิเศษสำหรับการแข่งประเภท
ยิมคานา แรลลี และการแข่งขันประเภทอื่นๆที่ต้องใช้เส้นทางฝุ่น

ขณะที่ชุดเฟือง SUPER AYC (ACTIVE YAW CONTROL) ติดตั้งใกล้เฟืองท้าย ซึ่งทำงานประสานกับ
ระบบ ACD โดยส่งแรงบิดที่ต่างกันไปยังล้อหลังตามสภาพถนน เพื่อให้เข้าโค้งได้ฉับไวและทรงตัวดี
เมื่อเบรกกระทันหัน นั้น หลังจากที่ทีมวิศวกรปรับปรุงระบบนี้ในรุ่น อีโวลูชัน VIII โดยเปลี่ยน
ระบบเฟืองเดิมจากแบบ BEVEL GEAR มาเป็น PLANETARY GEAR แทน เพื่อถ่ายทอดกำลังสู่ล้อคู่หลัง
ได้ดีขึ้นแล้ว ในรุ่น เอ็มอาร์ มีการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ทำ CLUTCH CASE จากเหล็กมาเป็นอะลูมีเนียม
ส่งผลให้น้ำหนักเบาลง 800 กรัม นอกจากนี้ เฟืองไฮปอยด์ ยังเปลี่ยนมาใช้เหล็กที่มีความแข็งแกร่งกว่าเดิม
เพิ่มความทนทานขึ้นอีก 20%

นอกจากนี้ ในรุ่นอีโวลูชัน VIII เดิม ระบบ SPORT ABS ถูกกำหนดให้ทำงานเพียงเพื่อรักษาการทรงตัว
ในขณะเบรกกระทันหันในทุกสภาพถนนเป็นหลัก แต่ในรุ่น MR ระบบ SPORT ABS จะถูกปรับจูน
ให้ตอบสนองอย่างฉับไวขึ้น ตามสภาพถนนที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นพื้นผิวถนนกรวด หรือถนน
ที่ลื่นและต้องการการสัมผัสของหน้ายางมากกว่าปกติ โดยนอกจากจะมีเซ็นเซอร์จับอาการล็อกที่ล้อทั้ง 4 แล้ว
ยังเพิ่มเซ็นเซอร์จับการหมุนของพวงมาลัย และมุมเลี้ยวของล้อ เพื่อร่วมกันคำนวนหาแรงเบรกที่เหมาะสม
ของแต่ละล้อและสั่งการไปยังล้อข้างนั้นๆ ทำงานบนพื้นฐานของ ดิสก์เบรกมีรูระบายอากาศทั้ง 4 ล้อ
คู่หน้าเป็นแบบ 4 คาลิปเปอร์ ส่วนคู่หลังมี 2 คาลิปเปอร์ ฝีมือของ Brembo อิตาลี ชุดเดียวกับที่ประจำการ
มาตั้งแต่ อีโวลูชัน V พร้อมระบบกระจายแรงเบรก EBD และระบบลดความร้อนของจานเบรค
และวาล์วปรับแรงดันแรงดันน้ำมันเบรค PCV (PRESSURE CONTROL VALVE)
ส่วนระบบกันสะเทือนยังคงเหมือนเดิม หน้าแมคเฟอร์สันสตรัท หลังแบบมัลติงลิงค์ พร้อมเหล็กกันโคลงหน้า-หลัง
เหมือนเดิม แต่คราวนี้เพิ่มความพิเศษด้วยโช้คอัพที่พัฒนาขึ้น ร่วมกับ Bilstein เพื่อติดตั้งให้รุ่น เอ็มอาร์ โดยเฉพาะ
ซึ่งมีค่าความหนืดที่แตกต่างกันทั้งด้านหน้า-หลัง เพื่อยกระดับการเกาะถนน และการทรงตัวที่ดีขึ้น
ถึงแม้จะปรับปรุงรายละเอียดทางเทคนิกอย่างไร แต่รูปลักษณ์ภายนอกและภายใน ยังคงเหมือนกับรุ่น
อีโวลูชัน VIII มาตรฐานทุกกระเบียดนิ้ว ยกเว้นการเติมเสน่ห์ให้กับภายนอกด้วยโทนสีตัวถังใหม่ เทา
MEDIUM-PURPLISH MICA เสริมทัพกับอีก 3 โทนสีเดิม ทั้งสีเงิน เมทัลลิก สีแดงสด และสีขาว
(มีเฉพาะรุ่น RSเกียร์ 5 จังหวะ)

รวมทั้งการตกแต่งรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อย ทั้งชุดไฟหน้า-ไฟท้ายแบบรมดำ โดยชุดไฟหน้าจะมาพร้อม
เลนส์โปรเจกเตอร์ เลนส์สีฟ้า เทอควอยซ์ (TURQUOISE) ส่วนสปอยเลอร์หลัง ทำจากคาร์บอน จะพ่น
สีเทาเข้มแทนที่จะเป็นสีเดียวกับตัวถังเหมือนรุ่นมาตรฐาน รวมไปถึงโลโก แลนเซอร์ และอีโวลูชัน
ที่ฝากระโปรงท้าย ก็จะพ่นสีเทาเข้มด้วย ขณะที่โลโกตัวอักษร เอ็มอาร์ จะเป็นสีแดงปลอกท่อไอเสีย
เป็นแบบโลหะสะท้อนเงา มีให้ทุกรุ่น ยกเว้นรุ่น RS เกียร์ 5 จังหวะ และพิเศษด้วยล้ออัลลอยลายพิเศษจาก
BBS ที่มีน้ำหนักเบากว่าล้ออัลลอยชุดเดิม 1.25 กิโลกรัม พ่นสีเทาเข้มเช่นเดียวกับสีตัวถัง

ขณะที่ภายใน ยังคงตกแต่งด้วยโทนสีดำเข้มเพื่อเน้นภาพลักษณ์สปอร์ตให้เข้มข้นขึ้น สอดคล้องกับภายนอก
ทั้งการตกแต่งแผงคอนโซลกลางด้วยลายคาร์บอน พวงมาลัยจาก MOMO แบบเดิม แต่พ่นสีดำบริเวณก้านโลหะ
ทั้ง 3 ให้ดูขรึม เบาะนั่งแบบใหม่จาก RECARO เสริมการรองรับสรีระบริเวณไหล่มากขึ้นด้วยผ้าชนิดพิเศษ
ชุดมาตรวัดเป็นแบบสุดเข็มวัดที่ 270 กิโลเมตร/ชั่วโมง และเพิ่มโลโก อีโวลูชัน VIII เอ็มอาร์ บริเวณฐานรองคันเกียร์
อีโวลูชัน VIII เอ็มอาร์ มีให้เลือก 3 รุ่นย่อย ทั้งรุ่น RS เกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ 2,740,000 เยน หรือ 931,600 บาท
รุ่น RS เกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ 3,275,000 เยน หรือ 1,113,500 บาท และรุ่นท็อป GSR 3,398,000 เยน หรือ 1,153,320 บาท
*****************************************************************************